Last updated: 19 ก.ย. 2564 | 1367 จำนวนผู้เข้าชม |
ลักษณะเฉพาะของวาล์วควบคุมและการซ่อมบำรุง
วาล์วควบคุมประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิด ทำงานร่วมกันเช่น
วาล์ว( Valve Body)
หัวขับวาล์ว (Actuator)
ตัวควบคุมตำแหน่ง (Positioner)
ตัวปรับระดับความดัน (Regulator) ฯลฯ
ซึ่งอุปกรณ์แต่ละตัวนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อยมากมายและจำเป็นต้องซ่อมบำรุงแตกต่างกัน
ตัววาล์ว (Valve Body)
จะเป็นส่วนที่เกิดความเสียหายมากที่สุดและต้องทำการซ่อมบำรุงมากที่สุดเพราะเป็นส่วนที่ของไหลไหลผ่าน และต้องทำงานเคลือนที่ขึ้นลงตลอดเวลา ส่วนอุปกรณ์อื่นจะเป็นส่วนประกอบที่ใช้สั่งการให้วาล์วทำงานเท่านั้น โอกาสที่จะเสียหายจึงมีน้อยมาก ชิ้นส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเมื่อเกิดการสึกหรอเนื่องจากการทำงาน ได้แก่
- Seat Ring ซึ่งเป็นช่องทางผ่านของของไหล
- Plug เป็นชิ้นส่วนบังคับให้ของไหลไหลมากน้อย
- Stem เป็นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ขึ้นลง เมื่อต้องการเปิด-ปิดวาล์ว
ประเก็นกันรั่ว เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ระหว่างโลหะ ใช้ป้องกันการรั่วซึมระหว่างชิ้นส่วนโลหะ วาล์วควบคุมแต่ละตัวจะมีประเก็นกันรั่วหลายตำแหน่งตามแต่การออกแบบประเก็นกันรั่วเป็นอะไหล่ประเภทอะไหล่สิ้นเปลือง(Consumer Part) จะต้องเปลี่ยนทุกครั้งเมื่อถอดวาล์วควบคุม
การรั่วของของไหลบริเวณ Bonnet เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด และเกิดขึ้นได้กับวาล์วทุกตัว ซึ่งการรั่วนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียของไหลสู่บรรยากาศ หากของไหลนั้นเป็นสารกัดกร่อน หรือเป็นแก๊ส อาจทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงานในบริเวณนั้นได้
ตัวควบคุมตำแหน่ง (Positioner)
เป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัดเมื่อทำงานไปอาจเกิดการเลื่อนช่วงของการควบคุมจึงจำเป็นต้องปรับแต่ง (Calibrate) เป็นระยะๆตามความเหมาะสม
สาเหตุที่ทำให้วาล์วควบคุมหยุดทำงาน (Failure) สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ สาเหตุใหญ่ คือการรั่ว (Leakage) เกิดการรั่วที่ภายในวาล์วหรือรั่ว ออกมาภายนอก ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดการเสียหาย และส่งผลให้วาล์ว Fail การรั่วที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆได้แก่ บริเวณ Trim, Body หรือ Packing เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต (Process Upset) เช่นการเพิ่ม/ลดความดันหรืออุณหภูมิการเพิ่มอัตราการไหลหรืออื่นๆซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับวาล์วควบคุมที่ใช้งานอยู่
คุณภาพของเหลวหรือก๊าซในกระบวนการผลิต (Fluid Quality) เช่นการมีฝุ่นหรือเศษโลหะปะปนในของเหลวหรือการที่ก๊าซมีการเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวบางส่วนซึ่งการเปลี่ยนสถานะนี้อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนได้
ปัญหาทางเครื่องกล (Mechanical Problem) เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวอุปกรณ์หรือวาล์วควบคุม เกิดจากการใช้งานบ่อยหรือหมดอายุการใช้งานของอุปกรณ์บางส่วนสามารถแบ่งเป็นบริเวณที่เกิดได้ดังนี้
- ตัววาล์วควบคุม เช่นเกิดการสึกบริเวณ Trim หรือการรั่วของตัว Valve Body เป็นต้น
- อุปกรณ์อื่นๆ เช่น แผ่น Diaphragm ใน Actuator เกิดการขาด หรือ Spring หัก เป็นต้น
- แหล่งจากพลังงาน (Supply) เช่นขาดสัญญาณสั่งงานทั้งสัญญาณลมหรือสัญญาณไฟฟ้าทำให้วาล์วไม่สามารถทำงานได้ เป็นต้น